


มีอาการแบบนี้ ถึงเวลาเลิกขับรถเสียทีดีไหม
เมื่อเอ่ยถึงการขับรถ หากเป็นในอดีต เราคงไม่ค่อยเห็นผู้สูงอายุขับรถกันมากนัก แต่ในปัจจุบันแล้วต้องยอมรับว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น มีผู้สูงอายุที่ยังคงขับรถขับราไปไหนมาไหนด้วยตัวเองมากขึ้น แถมบางท่านดูจะจอดรถ-เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวา คล่องกว่าหนุ่มๆ สาวๆ เสียอีก
แต่สิ่งที่ต้องยอมรับประการหนึ่งก็คือ ความเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัย ไม่ว่าจะเป็นสายตาที่มองไกลก็ไม่ชัด มองใกล้ก็ไม่ชัด จนต้องพึ่งแว่นสายตา หูที่ฟังไม่ค่อยได้ยิน มือแขนขาที่อ่อนแรงลงไป รวมถึงการตัดสินใจที่อาจผิดพลาดได้ง่ายอันเป็นผลจากความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ทั้งหมดเหล่านี้มีโอกาสทำให้ผู้สูงอายุที่ขับรถประสบอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าคนทั่วไปหลายเท่า
แต่หากท่านยังต้องขับรถกันอยู่ เรามีคำแนะนำจาก The National Highway Traffic Administration มาฝากกันค่ะ ว่ามีสัญญาณเตือนใดบ้างที่บ่งบอกว่า การขับรถของผู้สูงอายุอาจไม่ปลอดภัยสำหรับตนเองและผู้ร่วมใช้เส้นทางบนท้องถนนอีกต่อไป
- ขับรถหลงทางแม้จะเป็นเส้นทางที่คุ้นเคย
- มีรอยถลอกรอยใหม่ๆ ปรากฏบนตัวรถมากขึ้น
- โดนใบสั่งข้อหาฝ่าฝืนกฎจราจร
- ขับรถช้า หรือเร็วเกินไปโดยไม่มีเหตุผล
- มองป้ายจราจรไม่ชัด หรือพบว่า อยู่ดี ๆ ป้ายก็ปรากฏขึ้นมาอย่างไม่ทันตั้งตัว
- เกิดอุบัติเหตุ
- ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้เลิกขับรถ หรือต้องรับประทานยาบางชนิดที่ไม่เหมาะสำหรับการขับรถ
นอกจากนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยยังได้แนะนำให้ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว 8 โรคดังต่อไปนี้ ควรเตรียมความพร้อมก่อนการขับรถมากขึ้น ซึ่งทั้ง 8 โรคได้แก่
โรคเกี่ยวกับสายตา เช่น จอประสาทตาเสื่อม ให้หลีกเลี่ยงการขับรถในช่วงโพล้เพล้หรือตอนกลางคืน ส่วนผู้ที่เป็นต้อหิน จะมีลานสายตาแคบ มองเห็นเส้นทางด้านข้างไม่ชัดเจน และเห็นแสงไฟพร่ามัว ไม่ควรขับรถในช่วงที่ทัศนวิสัยไม่ดี เพราะจะทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นเส้นทางลดลง จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง
โรคข้อเสื่อม ไม่ควรขับรถระยะทางไกลเป็นเวลานาน หรือในช่วงที่การจราจรติดขัด เพราะจะอ่อนเพลียง่าย ไม่มีแรงเหยียบเบรค หรือคันเร่ง รวมถึงขาดกำลังแขนในการบังคับพวงมาลัยและเปลี่ยนเกียร์ จึงส่งผลต่อประสิทธิภาพในการขับรถและความรวดเร็วในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
โรคสมองเสื่อม อาจมีอาการหลงลืมเส้นทาง ทำให้หลงทาง รวมถึงส่งผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนเส้นทาง
โรคอัมพฤกษ์ ทำให้แขนขาไม่มีแรงเหยียบคันเร่ง เหยียบเบรค และเปลี่ยนเกียร์
โรคพาร์กินสัน มีอาการมือเท้าสั่น และเกร็งจึงขับรถได้ไม่ดีนัก
โรคลมชัก อาจะมีอาการกระตุก โดยไม่รู้ตัวทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในขณะขับขี่สูง
โรคหัวใจ หากต้องขับรถในช่วงการจราจรติดขัด จะทำให้เกิดอาการเครียดจนโรคกำเริบมากขึ้น
โรคเบาหวาน ถ้าน้ำตาลในเลือดต่ำ จะหน้ามืด สายตาพร่ามัว และหมดสติ ทำให้เกิดอันตรายได้ ที่สำคัญ ผู้สูงอายุควรคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง เพราะแรงกระแทกเพียงเล็กน้อย อาจทำให้กระดูกแตกหักได้
ที่มา : หนังสือพิมพ์ASTV ผู้จัดการ
Tags: ขับขี่ปลอดภัย, ความปลอดภัยในการใช้รถ, เครือข่ายลดอุบัติเหตุ, โรคห้ามขับรถ
Hello there I am so grateful I found your site, I really found you by accident, while I was browsing on Yahoo for something else, Anyhow I am here now and would just like to say kudos for a marvelous post and a all round enjoyable blog (I also love the theme/design), I don’t have time to browse it all at the minute but I have book-marked it and also included your RSS feeds, so when I have time I will be back to read a lot more, Please do keep up the awesome job.