Jorpor Variety

จัดระเบียบบ้าน ป้องกันอัคคีภัย

อัพเดท: Saturday, November 20th, 2010 | เข้าชม 10,621 ครั้ง



 

ความเสียหายที่เกิดจากอัคคีภัย เป็นการยากที่จะควบคุมและป้องกันมิให้เกิดอัคคีภัยขึ้นได้อย่างเด็ดขาดและ เสมอไปเพราะ อัคคีภัยนั้นเปรียบเสมือน “ศัตรูที่ไม่รู้จักหลับ” และความประมาทเลินเล่อของผู้ทำงานหรือผู้ประกอบกิจการเป็นจำนวนมาก ย่อมจะเกิดและมีขึ้นได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง จึงเห็นควรที่จะต้องช่วยกันป้องกันอัคคีภัยในการป้องกันอัคคีภัยจะมีสิ่งที่ ควรปฏิบัติ ิเฉพาะเรื่องเฉพาะอย่างอีกมากมาย แต่ก็ มีหลักการง่าย ๆ ในการป้องกันอัคคีภัยอยู่ 5 ประการ คือ

1. การจัดระเบียบเรียบร้อยภายในและภายนอกอาคารให้ดี เช่น การขจัดสิ่งรกรุงรังภายในอาคาร บ้านเรือนให้หมดไป โดยการเก็บรักษาสิ่งที่อาจจะเกิดอัคคีภัยได้ง่ายไว้ให้เป็นสัดส่วน ซึ่งเป็นบันได ขั้นต้นในการป้องกันอัคคีภัย

2. การตรวจตราซ่อมบำรุงบรรดาสิ่งที่นำมาใช้ในการประกอบกิจการ เช่น สายไฟฟ้า เครื่องจักรกล เครื่องทำความร้อน ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และความปลอดภัยก็จะป้องกันมิให้เกิดอัคคีภัย ได้ดียิ่งขึ้น

3. อย่าฝ่าฝืนข้อห้ามที่จิตสำนึกควรพึงระวัง เช่น

(1) อย่าปล่อยให้เด็กเล่นไฟ

(2) อย่าจุดธูปเทียนบูชาพระทิ้งไว้

(3) อย่าวางก้นบุหรี่ที่ขอบจานที่เขี่ยบุหรี่ หรือขยี้ดับไม่หมด ทำให้พลัดตกจากจาน หรือ สูบบุหรี่บนที่นอน

(4) อย่าใช้เครื่องต้มน้ำไฟฟ้าแล้เสียบปลั๊กจนน้ำแห้ง

(5) อย่าเปิดพัดลมแล้วไม่ปิดปล่อยให้หมุนค้างคืนค้างวัน

(6) อาจมีเครื่องอำนวยความสุขอย่างอื่น เช่น เปิดโทรทัศน์ แล้วลืมปิด

(7) วางเครื่องไฟฟ้า เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น ติดฝาผนัง ความร้อนระบายออกไม่ได้ตามที่ควรเป็น เครื่องร้อนจนไหม้ตัวเองขึ้น

(8) อย่าหมกเศษผ้าขี้ริ้ว วางไม้กวาดดอกหญ้า หรือซุกเศษกระดาษไว้หลังตู้เย็น บางครั้ง สัตว์เลี้ยงในอาคารก็คาบเศษสิ่งไม้ใช้ไปสะสมไว้หลังตู้เย็นที่มีไออุ่นอาจ เกิดการคุไหม้ขึ้น

(9) อย่าใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐานหรือปลอมแปลงคุณภาพ เช่น บาลาสต์ที่ใช้กับ หลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนท์เมื่อเปิดไฟทิ้งไว้อาจร้อน และลุกไหม้ส่วนของอาคารที่ติดอยู่

(10) อย่าจุดหรือเผาขยะมูลฝอย หญ้าแห้ง โดยไม่มีคนดูแล เพราะไฟที่ยังไม่ดับเกิดลมพัด คุขึ้นมาอีก มีลูกไฟปลิวไปจุดติดบริเวณใกล้เคียงได้

(11) อย่าลืมเสียบปลั๊กไฟฟ้าทิ้งไว้

(12) อย่าทิ้งอาคารบ้านเรือนหรือคนชราแลเด็กไว้โดยไม่มีผู้ดูแล

(13) อย่าสูบบุหรี่ขณะเติมน้ำมันรถ

(14) ดูแลการหุงต้มเมื่อเสร็จการหุงต้มแล้วให้ดับไฟถ้าใช้เตาแก๊สต้องปิดวาล์วเตาแก๊สและถังแก๊สให้เรียบร้อย

(15) เครื่องเขียนแบบพิมพ์บางชนิดไวไฟ เช่น กระดาษไข ยาลบกระดาษไข กระดาษแผ่นบาง ๆ อาจเป็นสื่อสะพานไฟทำให้ เกิดอัคคีภัยติดต่อคุกคามได้

(16) ดีดีที สเปรย์ฉีดผม ฉีดใกล้ไฟ จะติดไฟและระเบิด

(17) เกิดไฟฟ้าลัดวงจรในคืนฝนตกหนัก เพราะสายไฟที่เก่าเปื่อย เมื่อวางทับอยู่กับฝ้าเพดาน ไม้ผุที่มีความชื้นย่อมเกิดอันตราย จากกระแสไฟฟ้าขึ้นได้

(18) เกิดฟ้าผ่าลงที่อาคารขณะมีพายุฝน ถ้าไม่มีสายล่อฟ้าที่ถูกต้องก็ต้อง เกิดเพลิงไหม้ขึ้น ได้อย่างแน่นอน

(19) เตาแก๊สหุงต้มในครัวเรือนหรือสำนักงานเกิดรั่ว

(20) รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เกิดอุบัติเหตุหรือถ่ายเทน้ำมันเบนซิน เกิดการรั่ว ไหลก็น่าเกิด อัคคีภัยขึ้นได้

(21) ในสถานที่บางแห่งมีการเก็บรักษาเคมีที่อาจก่อให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย อาจ คุไหม้ขึ้นได้เอง สารเคมีบางชนิด เช่น สีน้ำมันและน้ำมันลินสีด เป็นต้น เมื่อคลุกเคล้ากับเศษผ้าวางทิ้งไว้อาจคุไหม้ขึ้นเอง ในห้องทดลองเคมีของ โรงเรียน เคยมีเหตุ เกิดจากขวดบรรจุฟอสฟอรัสเหลือง (ขวด) พลัด ตกลงมา เกิดแตกลุกไหม้ขึ้น

(22) ซ่อมแซมสถานที่ เช่น การลอกสีด้วยเครื่องพ่นไฟ การตัดเชื่อมโลหะด้วย แก๊สหรือไฟฟ้า การทาสีหรือพ่นสีต้องทำด้วย ความระมัดระวัง อาจเกิดไฟ คุไหม้ขึ้นได้

4. ความร่วมมือที่ดี จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงนายตรวจป้องกันอัคคีภัยได้ ให้ไว้ และ้ปฏิบัติตามข้อห้ามที่วาง ไว้เพื่อความปลอดภัยจากสถาบันต่างๆ

5. ประการสุดท้าย จะต้องมีน้ำในตุ่มเตรียมไว้สำหรับสาดรดเพื่อให้อาคารเปียกชุ่มก่อนไฟจะมาถึง เตรียมทรายและเครื่องมือดับเพลิงเคมี ไว้ให้ถูกที่ถูกทางสำหรับดับเพลิงชั้นต้นและต้องรู้จักการใช้ เครื่องดับเพลิงเคมีด้วย และระลึกอยู่เสมอว่าเมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้วจะ ต้องปฏิบัติดังนี้

(1) แจ้งข่าวเพลิงไหม้ทันที โทร. 199 หรือสถานีดับเพลิงสถานีตำรวจใกล้เคียงโดยแบ่งหน้าที่กันทำ

(2) ดับเพลิงด้วยเครื่องดับเพลิงที่มีอยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุ

(3) หากดับเพลิงชั้นต้นไม่ได้ให้เปิดประตูหน้าต่างบ้านและอาคารทุกบานและอุดท่อ ทางต่างๆ ที่อาจเป็นทางผ่านความร้อน ก๊าซ และควันเพลิงเสียด้วย

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดเพลงไหม้ิ

(1) ช่วยคนชรา เด็ก และคนที่ช่วยตัวเองไม่ได้ ไปอยู่ที่ปลอดภัย

(2) อย่าใช้ลิฟต์ในขณะเกิดเหต

(3) ขนย้ายเอกสารและทรัพย์สินที่มีค่าเท่าที่จำเป็นตามสถานการณ์และนำไปเก็บกอง รวมอย่าให้ ฉีกขาดลุ่ย โดยป้องกันมิให้น้ำกระเซ็นเปียก

ข้อควรระวังและวิธีปฏิบัติเมื่อแก๊สรั่ว

(1) เมื่อได้กลิ่นแก๊สปิดวาล์วหัวถังทันที

(2) เปิดประตู หน้าต่าง ให้อากาศถ่ายเทเพื่อให้แก๊สเจือจาง

(3) ห้ามจุดไม้ขีด ไฟแช็ก เปิด-ปิดสวิตซ์ไฟ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในบริเวณที่มีแก๊สรั่ว

(4) ใช้ไม้กวาดกวาดแก๊สออกทางประตู

(5) ตรวจหาที่รั่วและแก้ไขทันที

(6) หากถังแก๊สมีรอยรั่วให้นำถังแก๊สนั้นไว้ในที่โล่งที่ปลอดภัย

(7) ท่อยางต้องไม่อยู่ใกล้เปลวไฟ

(8) ห้องน้ำที่ใช้เครื่องทำน้ำร้อนแก๊ส ควรมีช่องระบายอากาศเพื่อให้มีออกซิเจนเพียงพอทำอย่างไรให้เกิดเพลิงไหม้มี น้อยที่สุด

จากเบื้องต้นที่กล่าวมาได้เน้นถึงลักษณะและหลักการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงเบื้อง ต้น แต่ทั้งนี้จะเป็นการดีมากหากเราสามารถป้องกัน มิให้เกิดเพลิงไหม้ ขึ้นเลย เพราะไม่ว่าเพลิงไหม้จะเกิดขึ้นเล็กน้อยก็จะนำมาซึ่งความเสีย หายทางทรัพย์สินเงินทอง เวลา หรือแม้กระทั่งสุขภาพจิต

ในที่นี้ขอเน้นถึงหลักการปฏิบัติโดยทั่วไปเพื่อความปลอดภัยจากอัคคีภัยในโรง งานอุตสาหกรรม ซึ่งจะแบ่งการปฏิบัติไว้เป็น 2 บริเวณ คือ บริเวณที่มีการผลิตและที่ใช้ในการเก็บสินค้า

บริเวณที่มีการผลิต

(1) ด้านเครื่องจักร

- ควรมีการตรวจเช็คซ่อมบำรุงเป็นประจำให้อยู่ในสภาพที่ดี

(2) ด้านเครื่องใช้ไฟฟ้า

- สายไฟฟ้าและอุปกรณ์ต้องอยู่ในสภาพที่ดีและได้รับการตรวจเช็คเป็นประจำ

- ควรหลีกเลี่ยงการต่อสายไฟฟ้าโดยใช้ผ้าเทปพันหรือการต่อแบบชั่วคราว

- หลังเลิกงานควรปิดสวิตซ์อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เมนใหญ่

(3) การขจัดแหล่งที่เป็นบ่อเกิดของไฟอื่น ๆ

- ควรงดมิให้มีการสูบบุหรี่ในบริเวณที่มีการผลิต

- ความสะอาดเป็นหลักเบื้องต้นของการป้องกันอัคคีภัย บริเวณที่มีการผลิตควรมีถัง หรือถาดไว้รองรับเศษของการผลิตหรือเศษของอื่น ๆ และหลังเลิกงานต้องนำไปทิ้งทุกวัน

- กรรมวิธีใดที่มีความอันตรายในการก่อให้เกิดอัคคีภัยสูงควรจะแยกออกจากส่วนต่าง ๆ และจัดให้มีการป้องกันเฉพาะขึ้น

(4) การจัดเก็บสินค้า

- สินค้าไม่ว่าวัตถุดิบหรือสำเร็จรูปควรอยู่ในบริเวณการผลิตน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น

- วัตถุไวไฟที่ใช้ในการผลิตต้องถูกจำกัดเพียงเพื่อพอใช้ในหนึ่งวัน หลังเลิกงานต้องนำวัตถุไวไฟนั้นไปเก็บยังที่จัดไว้เฉพาะ

(5) การปฏิบัติหลังเลิกงาน

- หลังเลิกงานทุกวันควรมีการเดินตรวจดูความเรียบร้อย เช่น วัตถุไฟฟ้าได้นำไปเก็บในที่จัดเก็บไว้โดยเฉพาะ อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชิ้นได้ปิดสวิตซ์เรียบร้อยหรือยัง และรวมถึงการทำความสะอาดด้วย

บริเวณที่ใช้เก็บสินค้า

(1) ด้านการจัดเก็บ

- การเก็บสินค้าควรเก็บอย่างมีระเบียบ ภายในบริเวณจัดเก็บต้องมีช่องทางเดินสินค้า ควรจัดเก็บเป็นล็อก ๆ ในแต่ละเลือกต้องมีช่องทางเดินและปริมาณสินค้าไม่มากเกินไปความสูงไม่เกิน 6 เมตร หรือ 1 เมตร จากเพดานถึงหลังคาและสินค้าควรอยู่ห่างจากแสงไฟ

- สินค้าควรอยู่บนที่รองรับหรือชั้นวางของ

- ควรเว้นและมีการขีดเส้นกำหนดแนววางสินค้า

(2) การจับยกสินค้า

- ของเหลวไวไฟ แก๊สหรือวัตถุไวไฟอื่น ๆ ควรเก็บแยกต่างหากจากสินค้าอื่น ๆ และสามารถทำได้ควรแยกห้องเก็บวัตถุไวไฟ

(3) การขจัดแหล่งที่เป็นบ่อเกิดของไฟอื่น ๆ

- ควรงดมิให้มีการสูบบุหรี่ในบริเวณที่มีการเก็บสินค้า

- ไม่ควรมีการผลิตหรือดำเนินการใด ๆ ในบริเวณที่เก็บสินค้า เช่น การอัดแบตเตอรี่

- ควรรักษาความสะอาดบริเวณที่เก็บสินค้าเป็นประจำ เช่น จากเศษกระดาษที่ใช้ห่อสินค้า

(4) การตรวจเช็คดูแลและความปลอดภัย

- สายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าในบริเวณที่เก็บสินค้าควรได้รับการตรวจ เช็คเป็นประจำ

- บริเวณที่เก็บสินค้าควรปิดล็อคไว้เสมอเมื่อไม่ได้ใช้และห้ามบุคคลภายนอกซึ่งไม่ได้รับอนุญาติเข้าไป

- อุปกรณ์ดับเพลิงควรติดตั้งบริเวณทางเข้าออก

พ.ร.บ. ป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2535

1. อำนาจหน้าที่นายตำรวจ

1. หน้าที่

* ตรวจดูว่ามีสิ่งใดบ้างอยู่ในภาวะอันอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย

* ตรวจตราดูบุคคลต่างๆ ผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติการป้องกันอัคคีภัยตามกฎหมายนี้ได้ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่

2. อำนาจ

* เข้าไปในอาคารระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก

* แนะนำเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร

3. การปฏิบัติ

* แสดงเครื่องหมายประจำตัว

* ชี้แจงเหตุผลในการเข้าไปในอาคาร หรือการแนะนำการปฏิบัติ

* รายงานผลต่อเจ้าหน้าที่

2. ประชาชนปฏิบัติร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการป้องกันอัคคีภัย

1. ยินยอมให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจ

2. ปฏิบัติตามคำแนะนำ ปฏิบัติไม่ได้ให้อุทธรณ์ภายในกำหนด 7 วัน

3. เก็บรักษา มีไว้ หรือใช้ซึ่งสิ่งที่อาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย ปฏิบัติตามกฎกระทรวง

4. ผู้ประกอบกิจการอันอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายต้องมีสิ่งจำเป็นในการป้องกันฯ หรือระงับอัคคีภัย กำหนดในกฎกระทรวง

3. บทกำหนดโทษ

พ.ร.บ. ป้องกันฯ หมวด 4 ม. 27-32 เป็นบทกำหนดโทษผู้ขัดขืนฝ่าฝืนละเลยไม่ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติ หรือกระทำโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ทั้งในด้านป้องกันและระงับอัคคีภัย

3.1 การป้องกันอัคคีภัย

* ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมให้นายตรวจเข้าไปในอาคารเมื่อมีผลอันแสดงให้เห็นว่า มีสิ่งใดอยู่ข้างในภาวะอันอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย

* คำว่าผู้ใด คือ จะเป็นก็ได้ตามเหตุผลดังกล่าวย่อมมีความผิดต้องวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท

* ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงตาม พ.ร.บ. นี้มีโทษจำคุก 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

* ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเป็นคำสั่งโดยลายลักษณ์ อักษร ต้องมีความผิดวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาล ให้ขนย้าย เปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือทำลายสิ่งอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย ถ้าไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอีก จำเป็นต้องออกค่าใช้จ่ายให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ร้องขออนุญาตต่อศาลเพื่อกระทำการนั้นเอง

3.2 การระงับอัคคีภัย

* เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารซึ่งอาศัยอยู่ละเลยไม่ปฏิบัติทำการดับเพลิง และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ วางโทษจำคุก 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

* บุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษา มีความผิด เช่นเดียวกัน

* ผู้ใดพบเพลิงไหม้ ละเลยไม่แจ้งเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่ดับ หรือไม่สามารถดับเพลิงได้ แล้วไม่แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ มีโทษปรับ 50 บาท

* ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ปิดกั้นทางเข้าออกของเจ้าหน้าที่ในการดับเพลิงและซ่อมการดับเพลิง มีโทษปรับ 1,000 บาท

4. เกี่ยวกับเครื่องแบบเครื่องหมาย

4.1ผู้ใดแต่งเครื่องแบบหรือประดับเครื่องหมายสำหรับเจ้าหน้าที่ โดยไม่มีอำนาจหน้าที่จะแต่งหรือประดับได้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4.2 ผู้ใดอวดอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ มีความผิดเช่นข้อที่ 1

4.3 ผู้ใดแจ้งเหตุหรือแกล้งให้อาณัติสัญญาณหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการป้องกัน หรือระงับอัคคีภัย มีความผิดเช่นข้อที่ 1

Tags:

ช่วยกันแสดงความคิดเห็นหน่อยนะครับ

1 ความคิดเห็น สำหรับ "จัดระเบียบบ้าน ป้องกันอัคคีภัย"

  1. Super-Duper website! I am loving it!! Will be back later to read some more. I am bookmarking your feeds also.

แสดงความคิดเห็น





Toyota Lover | Natthanont.com | Vios Club | Samrong.Net | TMAP-EM